โรคเกิดจากความเสื่อม

NCD โรคที่เกิดจากความเสื่อมของร่างกาย ไม่ใช่โรคติดต่อ มักเกิดจากพฤติกรรมการดําเนินชีวิตที่ไม่ถูกต้องส่งผลทําให้เกิดโรค

สาเหตุและความรุนแรงของโรค NCD

ตลอด 10 ปีที่ผ่านมา องค์การอนามัยโลก หรือ WHO รายงานว่า โรค NCD นับเป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตของประชากรโลก ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลจากกองควบคุมโรคไม่ติดต่อ กระทรวงสาธาณสุข ซึ่งแสดงให้เห็นถึงจํานวนผู้เสียชีวิต จากโรคเหล่านี้ในประเทศไทยที่ยังคงเพิ่มขึ้นจากพฤติกรรมเสี่ยง อาทิเช่นการรับประทานอาหารหวานจัด มันจัด อาหารปิ้งย่าง การดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ ไม่ออกกําลังกาย นอนดึก มีความเครียดสูง พฤติกรรมเหล่านี้ล้วนเป็นสาเหตุหลักของการทําลายเซลล์ในร่างกาย มีรายงานว่า ความรุนแรงของโรคขึ้นกับการถูกทําลายไปของเซลล์หรือเนื้อเยื่อที่อยู่ในอวัยวะเหล่านั้น ยกตัวอย่างเช่น ยิ่งเซลล์ในตับอ่อนถูกทําลายมากขึ้น การหลั่งอินซูลินผิดปกติ อาการของโรคเบาหวานก็จะรุนแรงขึ้น หรือหากเซลล์เยื่อบุผนังหลอดเลือดถูกทําลาย จะเกิดการรวมตัวกันของไขมันบริเวณผนังหลอดเลือด ทําให้เกิดหลอดเลือดอุดตัน ความดันโลหิตสูง ตามมาด้วยภาวะหัวใจขาดเลือดและหัวใจล้มเหลวในที่สุด

img-NCD-disease

NCD คือโรคอะไรบ้าง

ตัวอย่างของโรค NCD

  • โรคทางระบบหัวใจและหลอดเลือด เช่น ความดันโลหิตสูง โรคเส้นเลือดหัวใจตีบ
  • โรคหลอดเลือดสมอง
  • โรคเบาหวาน
  • โรคมะเร็ง เป็นต้น

สเต็มเซลล์กับโรค NCD

สเต็มเซลล์เป็นเซลล์ที่มีคุณสมบัติในการซ่อมแซม และเสริมสร้างเซลล์ใหม่มาทดแทนเซลล์เก่าที่เสียหาย ด้วยคุณสมบัติดังกล่าว จึงมีรายงานการใช้สเต็มเซลล์เพื่อบรรเทาอาการของโรค NCD โดยเฉพาะในศาสตร์ของการชะลอวัยและการใช้เซลล์บําบัด กล่าวคือ ใช้สเต็มเซลล์ในการชะลอความเสื่อมเพื่อป้องกันการเกิดโรค หรือชะลอให้โรคเสื่อมช้าลง ใช้ในการทดแทนและซ่อมแซมเซลล์ที่เสื่อมไปแล้ว เพราะเมื่อเซลล์เหล่านั้นแข็งแรงขึ้น อาการของโรค NCD ก็จะดีขึ้นไปด้วย ในปี 2016 รายงานจากเว็บไซต์ clinical.org ที่รวบรวมการใช้สเต็มเซลล์จากทั่วโลก ในปี 2016 พบว่า มากกว่า 60% เป็นการใช้สเต็มเซลล์กับโรค NCD ทั้งสิ้น

img-msc

ข้อมูลอ้างอิง

• Heather L. Greenwood, Peter A. Singer, Gregory P. Downey, Douglas K. Martin, Halla Thorsteinsdottir and Abdallah S. Daar, Regenerative Medicine and the Developing World, PLOS Medicine (2019): 3(9): 1496-1500

• Tiziana Squillaro, Gianfranco Peluso and Umberto Galderisi, Clinical Trials with Mesenchymal Stem Cells: An Update, Cell Transplantation (2016): 25:829-848

• กองควบคุมโรคสํานักโรคไม่ติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข, http://www.thaincd.com/2016/mission3