NK Cells เพชฌฆาตฆ่ามะเร็ง

รู้จักระบบภูมิคุ้มกัน

ระบบภูมิคุ้มกันเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการอยู่รอดของคนเรา โดยทำหน้าที่ป้องกันร่างกายจากเชื้อโรค แบคทีเรีย ไวรัส ปรสิต รวมทั้งสารก่อภูมิแพ้หรือแม้กระทั้งเซลล์ในร่างกายที่เจริญเติบโตผิดปกติหรือเซลล์มะเร็ง ดังนั้นหากไม่มีระบบภูมิคุ้มกันร่างกายของเราก็จะโดนโจมตีจากสิ่งแปลกปลอมได้ง่าย โดยตัวละครหลักในระบบภูมิคุ้มกันที่เรารู้จักกันดีคือเซลล์เม็ดเลือดขาว ซึ่งมีหลายชนิดและกระจายอยู่ตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย เพื่อคอยดักและกำจัดเชื้อโรค

บทบาทของ NK Cells ในระบบภูมิคุ้มกัน

Natural Killer Cells (NK Cells) หรือเซลล์เพชฌฆาต ชื่ออาจจะดูน่ากลัว แต่ NK Cells คือเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่งในระบบภูมิคุ้มกัน ถือว่าเป็นระบบป้องกันแนวหน้าของร่างกายที่มีความสำคัญมาก เพราะ NK Cells ให้การตอบสนองอย่างรวดเร็วต่อสิ่งแปลกปลอมแบบไม่จำเพาะเจาะจง ซึ่งหมายความว่าหากร่างกายตรวจพบสิ่งที่เป็นเชื้อโรคหรือเซลล์ที่มีความผิดปกติ NK Cells จะเข้าไปจัดการทำลายทันที โดยไม่ต้องผ่านการจดจำลักษณะหรือนึกว่าเคยเจอสิ่งนั้นมาก่อนหรือไม่ อีกทั้งยังสามารถแยกแยะระหว่างเซลล์ปกติกับเซลล์ที่ผิดปกติได้ จึงทำให้ NK Cells มีความสามารถในการทำลายเซลล์มะเร็งได้สูงกว่าเซลล์เม็ดเลือดขาวอื่นๆ ถึง 100 เท่า

สำหรับคนที่ป่วยบ่อย ร่างกายอ่อนแอ อาจสันนิษฐานได้ว่าปริมาณของ NK Cells มีจำนวนน้อยกว่าปกติหรือจำนวนปกติแต่ไม่มีคุณภาพ เปรียบเสมือนป้อมปราการที่ไม่แข็งแรงและพร้อมจะพัง ดังนั้นพอมีสิ่งแปลกปลอมเกิดขึ้นในร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นเซลล์มะเร็งหรือเชื้อโรคต่างๆ ก็จะสามารถลุกลามได้อย่างรวดเร็ว

วิธีการตรวจหาจำนวนและประสิทธิภาพของ NK Cells

ในปัจจุบันวิธีการตรวจนับเพื่อหาจำนวน NK Cells ที่มีความแม่นยำและรวดเร็วที่สุดวิธีหนึ่ง คือ
การใช้เทคนิค Flow Cytometry หรือการตรวจวิเคราะห์เซลล์โดยการใช้แสงเลเซอร์ ผลการวัดที่ได้จะสะท้อนภาพรวมของระบบภูมิคุ้มกัน ว่ามีความพร้อมในการต่อต้านอันตรายจากสิ่งแปลกปลอมได้ดีเพียงใด ซึ่งจำเป็นต้องทำควบคู่ไปกับการวัดค่าประสิทธิภาพของ NK Cells เพราะถึงแม้จะมีปริมาณมากเพียงใด แต่ถ้าคุณภาพไม่ดี และการทำงานไม่ได้ประสิทธิภาพ NK Cells ก็ไม่สามารถช่วยคุ้มกันร่างกายได้อยู่ดี

NK Cells count
เทคนิค Flow cytometry
ข้อดี สะดวก รวดเร็ว และแม่นยำ
ตัวอย่าง เลือด 3 มิลลิลิตร จำนวน 2 หลอด ไม่จำเป็นต้องงดน้ำ-อาหาร
ระยะเวลา 5 วันทำการ
ค่าอ้างอิง เพศชาย 140 -1,103 cells/uL
เพศหญิง 96 – 998 cells/uL

Flow cytometry

การตรวจนับจำนวนเซลล์ด้วยเครื่องวิเคราะห์เซลล์อัตโนมัติ เป็นเทคโนโลยีที่ใช้ในการวิเคราะห์ลักษณะทางกายภาพและทางเคมีของอนุภาคในของเหลวเมื่อผ่านแสงเลเซอร์ เช่น ขนาด รูปร่าง หรือส่วนประกอบของเซลล์ ซึ่งเทคนิคนี้สามารถแยกเซลล์ที่อยู่รวมกันในเลือดได้ดีและวิเคราะห์ได้อย่างรวดเร็วโดยขั้นตอน คือเซลล์จะถูกปล่อยให้ไหลผ่านกระบอกกรวยโดยมีในลักษณะการเรียงแถวตอนหนึ่ง หลังจากเซลล์ออกจากกรวยก็จะผ่านแสงเลเซอร์ที่ยิงอยู่ตลอดเวลา ซึ่งข้อมูลการหักเหหรือตกกระทบของแสงเลเซอร์จะถูกนำไปแปลงเป็นสัญญาณไฟฟ้าเพื่อวิเคราะห์เซลล์ต่อไป

NK Activity การตรวจวัดระดับเซลล์ภูมิคุ้มกันในร่างกาย
เทคนิค Microfluorometry (Calcein-AM Cytotoxicity Assay)
ข้อดี มีความคลาดเคลื่อนน้อยและเทียบเคียง ได้กับวิธีการมาตรฐาน
ตัวอย่าง ใช้เลือดขนาด 10 มิลลิลิตร จำนวน 1 หลอด, ไม่จำเป็นต้องงดน้ำ-อาหาร
ระยะเวลา 5 วันทำการ
ค่าอ้างอิง เพศชาย 43-58%
เพศหญิง 35-51%

Microfluorometry (Calcein-AM Cytotoxicity Assay)

เป็นวิธีการวัดประสิทธิภาพของ NK Cells จากจำนวนเซลล์มะเร็งที่ถูกทำลายเมื่อเลี้ยงคู่กับ NK Cells ภายในระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งเป็นวิธีที่เทียบเท่าวิธีมาตรฐาน (Gold Standard) ในปัจจุบัน โดยเซลล์มะเร็งจะถูกย้อมด้วยสารเรืองแสงและเลี้ยงร่วมกับ NK Cells ในห้องปฏิบัติการที่มีเครื่องมือที่สามารถติดตามและบันทึกภาพที่เกิดขึ้นจริงได้ตลอดเวลา เมื่อเซลล์มะเร็งถูกทำลายแสงสีเขียวจะหายไป ภายในเวลา 4 ชม. จำนวนเซลล์มะเร็งที่ถูกทำลายจะถูกนำมาคำนวณหาค่าประสิทธิภาพของ NK Cells

วิธีการแปลผลจากการตรวจหาจำนวนและประสิทธิภาพของ NK Cells

ต่ำกว่าค่าอ้างอิง

  • เป็นผู้ที่มีความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งหรือกำลังป่วยเป็นโรคมะเร็ง
  • เป็นผู้ที่มีรูปแบบการดำเนินชีวิตที่มีแนวโน้มทำลายสุขภาพ เช่น เครียดบ่อย พักผ่อนน้อย ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ เป็นต้น
  • มีภาวะโภชนาการที่ไม่ดี น้ำหนักเกินมาตรฐานหรือน้อยกว่ามาตรฐานมากเกินไปจากการได้รับสารอาหารที่ไม่เหมาะสมหรือไม่เพียงพอต่อร่างกาย
  • ผู้ที่ได้รับยาบางประเภท เช่น ยาเคมีบำบัดหรือยากดภูมิคุ้มกัน

ค่าปกติ

  • ระบบภูมิคุ้มกันอยู่ในภาวะปกติ

สูงกว่าค่าอ้างอิง

  • ระบบภูมิคุ้มกันทำงานมากเกินกว่าปกติ อาจเกิดจากภาวะของโรคหรือมีการติดเชื้อ

คำแนะนำเพิ่มเติม

  • สำหรับผู้ที่ตรวจพบว่ามีค่า NK Cells ที่ต่ำหรือสูงกว่าค่าอ้างอิง ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการปรับระบบภูมิคุ้มกันให้กลับมาเป็นปกติและการลดความเสี่ยงของการเกิดโรคร้าย เช่น มะเร็ง เป็นต้น
  • ผู้ที่ตรวจพบค่าที่ต่ำกว่ามาตรฐานมากเกินไป สามารถทำการเพิ่มปริมาณและประสิทธิภาพของ NK Cells ภายนอกร่างกาย แล้วคืนกลับเข้าร่างกาย เพื่อเพิ่มปริมาณอย่างรวดเร็ว ด้วยเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยง NK Cells ในห้องปฏิบัติการ
  • ผู้ที่อยู่ในเกณฑ์ปกติสามารถขอคำแนะนำเพิ่มเติมจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อที่จะรักษาระดับจำนวนและประสิทธิภาพของ NK Cells ให้ดีได้ในระยะยาว
  • สามารถตรวจเพื่อประเมินสุขภาพหรือติดตามผลการให้ NK Cells ได้ทุก 4 - 6 สัปดาห์

จะทำอย่างไรหาก NK Cells ของเรามีจำนวนน้อยและด้อยคุณภาพ?

เราสามารถเพิ่มปริมาณ NK Cells ในร่างกายด้วยวิธีต่อไปนี้

  1. การเพิ่มปริมาณ NK Cells ด้วยตนเอง
    • รับประทานอาหารให้เป็นเวลา ครบ 5 หมู่ และมีประโยชน์ต่อร่างกาย โดยเฉพาะผักใบเขียว เนื้อสัตว์ และนมถั่วเหลือง
    • งดบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
    • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
    • นอนพักผ่อนให้ได้อย่างน้อย 7 ชม./วัน อีกทั้งพยายามให้จิตใจผ่อนคลาย ไม่เครียด
    • รับประทานอาหารเสริมที่ช่วยเพิ่มการทำงานของ NK Cells แต่ต้องเลือกที่มีการรับรองจากหน่วยงานที่ได้มาตรฐานทั้งในและต่างประเทศ และมีผลการวิจัยหรือผลการทดลองแล้วว่าใช้ได้จริง

วิธีที่กล่าวมาข้างต้นอาจจะเห็นผลไม่ชัดเจน ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการตอบสนองของร่างกายของแต่ละบุคคล รวมถึงปัจจัยอื่นๆ ด้วย

  1. ใช้เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเพิ่มจำนวนในห้องปฏิบัติการ

วิธีการนี้จะแยก NK Cells ออกมาเพาะเลี้ยงในห้องปฏิบัติการ ทำการเพิ่มทั้งจำนวนและประสิทธิภาพการทำงาน โดยใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์ เมื่อเซลล์พร้อมจึงใส่คืนกลับเข้าร่างกาย วิธีนี้มีความปลอดภัยสูงเพราะใช้เซลล์ของตัวเองและสามารถทำซ้ำได้จนกว่าระดับ NK Cells เป็นที่น่าพอใจ

ในปัจจุบันเราสามารถเพาะเลี้ยง NK Cells ในประเทศได้เองโดยไม่ต้องส่งไปต่างประเทศเหมือนในอดีต ทำให้ลดค่าใช้จ่ายลงไปมาก แต่มีข้อที่ควรคำนึงและให้ความสำคัญ คือ ควรเลือกห้องปฏิบัติการเพาะเลี้ยงที่ได้มาตรฐาน ทีมงานที่มีประสบการณ์ และผู้เชี่ยวชาญที่สามารถให้คำแนะนำได้ดีและถูกต้อง จึงสามารถเป็นหลักประกันได้ว่าเราจะได้ NK Cells ที่มีคุณภาพและปลอดภัย

วิธีการเพิ่ม NK cells โดยการเพาะเลี้ยงในห้องปฏิบัติการ

  1. Pre-Screening : เป็นการตรวจคัดกรองเบื้องต้น เพื่อตรวจสอบระดับและประสิทธิภาพของ NK Cells ก่อนการรักษา
  2. Blood Drawing : การเจาะเลือดสำหรับใช้กระบวนการเพาะเลี้ยง NK cells
  3. NK Culture : แยกและเพาะเลี้ยง NK Cells เพื่อเพิ่มปริมาณและประสิทธิภาพการทำงาน
  4. NK Treatment : ให้ NK Cells กลับเข้าสู่ร่างกาย เพื่อใช้งานตามปกติ

ใครบ้างที่ควรใส่ใจกับการทำงานของ NK Cells ในร่างกาย?

คนที่มีความเสี่ยงที่จะมีปริมาณและคุณภาพของ NK Cells ต่ำกว่าค่าอ้างอิง มีดังนี้

  • มีประวัติคนในครอบครัวป่วยด้วยโรคมะเร็ง
  • มีปัญหาสุขภาพ ติดเชื้อบ่อย ร่างกายอ่อนแอ
  • ผู้ที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น โรคตับ โรคไต เบาหวาน และไขมันในเลือดสูง
  • ตับอักเสบเรื้อรังจากไวรัส
  • ผู้ป่วยมะเร็งที่อยู่ในระหว่างการรักษา หรือเป็นผู้ที่เฝ้าระวังการกลับเป็นซ้ำของมะเร็ง
  • มีพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ทำลายสุขภาพ ได้แก่ การพักผ่อนไม่เพียงพอ เครียด ไม่ออกกำลังกาย สูบบุหรี่จัด และดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก
  • มีภาวะโภชนาการบกพร่องหรือขาดสารอาหารเนื่องจากการรับประทานอาหารที่ไม่ถูกสัดส่วน เช่น ขาดการบริโภคผัก ผลไม้ หรือเนื้อสัตว์ ทำให้ร่างกายขาดวิตามิน เกลือแร่ และโปรตีน เป็นต้น
  • ผู้ที่ต้องการทราบปริมาณและคุณภาพของ NK Cells เพื่อวางแผนการป้องกันโรค

โรคที่ใช้ NK Cells ร่วมกับวิธีการรักษาในปัจจุบัน

กลุ่มโรคมะเร็ง

  • มะเร็งเม็ดเลือดขาว (Leukemia)
  • มะเร็งรังไข่ (Ovarian cancer)
  • มะเร็งเนื้อเต้านม (Breast Cancer (HER-2 +ve))
  • มะเร็งเนื้อเยื่อระบบประสาท (Neuroblastoma)

กลุ่มที่ไม่ใช่โรคมะเร็ง

  • ติดเชื้อไวรัส (Viral Infection)
  • โรคแพ้ภูมิตัวเอง (Autoimmune Disease)
  • เบาหวานชนิดที่ 1 (Type I Diabetes)

“มีการรักษาด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยและก้าวหน้าเป็นตัวช่วยแล้ว ถ้าดูแลสุขภาพร่างกายให้ดีด้วยก็ย่อมได้ผลการรักษาที่ดีเยี่ยม”

หากสนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ NK Cells สามารถติดต่อเราได้ที่นี่


Leave a comment!

Your email address will not be published. Required fields are marked *